หลักคิดจริยธรรมทางการแพทย์

บทคัดย่อ

ทั้งศีลธรรมและจริยธรรมเป็นกิ่งก้านของหลักปรัชญา ศีลธรรมเป็นข้อห้ามชี้ความดีเลว จริยธรรมเป็นเครื่องมือ ของสังคมชี้ความถูกผิดของพฤติกรรมบุคคล เปลี่ยนแปลงตามความเชื่อและกาลเวลา การปฏิบัติทางการแพทย์มีพื้นฐานจากความเป็นวิทยาศาสตร์ แต่เป็นส่วนประกอบหนึ่งของสังคมที่สำคัญของผู้ก่อและผู้รับผลกระทบ ภาพปรากฏ (จินตภาพ) ในบทบาทของจริยธรรมสะท้อนหลักคิด (มโนทัศน์) จากอดีตถึงปัจจุบัน บทความนี้ได้รวบรวมความรู้ทางสังคมศาสตร์ เพื่อการถ่ายทอดและอาจปรับใช้ตามบริบทของแต่ละบุคคล แสดงหลักคิดทางจริยธรรมโดยเน้นไปที่ “จริยธรรมทางการแพทย์” ซึ่งเป็นจริยธรรมแบบประยุกต์ พัฒนาจากยุคดั้งเดิมที่อาศัยภูมิปัญญา ประเพณีความเชื่อ ประสบการณ์และอิทธิพลทางศาสนา ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยมีความเชื่อมั่นศรัทธาต่อกันคล้ายบิดาดูแลบุตร ถึงยุคจริยธรรมทางการแพทย์แบบบรรทัดฐาน กลายเป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้กับผู้รับบริการ หรือผู้ประกอบธุรกิจกับผู้บริโภค มีมาตรฐานการดูแล มาตรฐานวิชาการ มาตรฐานและระดับความระมัดระวังสิทธิของผู้ป่วย และหน้าที่ของผู้ประกอบวิชาชีพ ประกอบกันเป็นหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและแนวปฏิบัติที่ต้องยึดถือ การประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ที่มีทั้งการพิจารณาตัดสินใจและการปฏิบัติต่อผู้ป่วยจะคำนึงถึงความเป็นอิสระของ ผู้ป่วย ประโยชน์ที่ผู้ป่วยจะได้รับ การไม่ก่ออันตรายและความเป็นธรรมในการดูแลผู้ป่วยเสมอกัน อันเป็นแก่นของจริยธรรมทางการแพทย์ที่ปฏิบัติต่อกันมาในยุคจริยธรรมทางการแพทย์แบบบรรทัดฐาน เมื่อเข้าสู่ยุคชีวจริยธรรมทาง การแพทย์ แก่นของจริยธรรมทางการแพทย์ยังคงเป็นหลักเพราะมีความยืดหยุ่นเชิงสัมพันธภาพ แต่ถูกวิพากษ์ว่าอาจจะขัดกับทฤษฎีทางด้านศีลธรรม การใช้เหตุผลเชิงนามธรรมถูกเชื่อว่าไม่ถูกต้องเมื่อพิจารณาในการดูแลผู้ป่วยแต่ละ รายจากล่างขึ้นบน เกิดหลักคิดที่แก้ไขเรียกว่า การใช้เหตุผลที่เชื่อว่าไม่ถูกต้อง ยังมีหลักคิดเฉพาะสำหรับผู้ป่วยสตรี ผู้พิการ และหลักสิทธิมนุษยชนหลายกรณีต้องอ้างถึงแง่มุมของศาสนา แง่มุมการใช้เหตุผลร่วมกันที่ชุมชนสังคมต้องการ เรียกว่า กลยุทธ์การใช้เหตุผลร่วมกัน โดยอ้างถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความศักดิ์สิทธิของชีวิตมนุษย์ และบทบาทของพระเจ้า การใช้จริยธรรมทางการแพทย์จึงต้องอาศัยการผสมผสานหลักคิดต่างๆ สู่การพัฒนาและปฏิบัติจริง

คลิกเพื่ออ่านเอกสาร

>> หลักคิดจริยธรรมทางการแพทย์ <<