การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี กับระบบดูแลสุขภาพ โดย ดร.นพ.ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย

ในยุคที่เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) กำลังเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นเรื่อย ๆ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจในวงกว้างด้วย AI ยังมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคเอกชน ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ และสร้างนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาสังคมและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนวัตกรรมภาคสุขภาพ

  • ประการแรกเทคโนโลยี AI ช่วยเร่งนวัตกรรมเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์สู่ระดับความก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว สามารถที่จะพัฒนาการใช้เอ็นไซม์ ฮอร์โมน ภูมิคุ้มกัน ดีเอ็นเอ อาร์เอ็นเอ โปรตีนและพันธุกรรม ของมนุษย์มาใช้เป็นการรักษาได้ เช่นการรักษาด้วยระบบภูมิคุ้มกัน ด้วฮอร์โมน ด้วยพันธุกรรม ด้วยเซลล์ ด้วยโปรตีน ด้วยดีเอนเอ อาร์เอ็นเอ การรักษาแบบมุ่งเป้า การแพทย์แม่นยำ วิศกรรมเนื้อเยื่อและการฟื้นฟูอวัยวะ การรักษาด้วยเสต็มเซลล์ วัคซีนอาร์เอนเอ การเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ การใช้ยากับผู้ป่วยเฉพาะราย การเติมสารอาหารเฉพาะราย ระบบนำส่งหรือปลดปล่อยยา การตรวจตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ การวิจัยจุลชีพที่ดื้อยา เป็นต้น
  • ประการที่สองเทคโนโลยี AI ช่วยพัฒนาวัสดุและผลิตภัณฑ์ รวมถึงผลิตภัณฑ์บริการทางการแพทย์ต่างๆที่หลากหลายอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น วัสดุที่ย่อยสลายได้ในร่างกาย คงสภาพอยู่ในร่างกายตามเวลาที่ต้องการ วัสดุที่มีความยืดหยุ่นสูง ผลิตภัณฑ์การตรวจวินิจฉัย เช่น การตรวจอัลตร้าซาวด์มุ่งจุดสนใจ  เครื่องมือตรวจที่รวดเร็วและแน่นอน ทั้งสแกนกระดูก สมอง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า รวมถึงการแสดงผล ๓ มิติ ผลิตภัณฑ์การรักษาด้วยพลังงานแสง เสียง แม่เหล็กไฟฟ้า ความเย็นรักษา ความร้อนรักษา รังสีรักษา รักษาด้วยการสัมผัสหรือนวด รวมถึงการใช้กลิ่นและดนตรีบำบัด ผลิตภัณฑ์จากเทคโนโลยีระบบนาโน การใช้อุปกรณ์ประจำบ้าน อุปกรณ์สวมใส่สำหรับการตรวจ การมอนิเตอร์ติดตาม การส่งสัญญานเตือน เทคโนโลยีสื่อสารการแพทย์ การรักษาด้วยดิจิทัล การใช้เทคโนโลยีโลกเสมือน การใช้ระบบอัตโนมัติหรือระบบอัจฉริยะ หุ่นยนต์ตรวจรักษาหรือบริการ หุ่นยนต์ผ่าตัด
  • ประการที่สามเทคโนโลยี AI ช่วยพัฒนาระบบบริการการแพทย์และสาธารณสุข โรงพยาบาลอัจฉริยะ ระบบการตรวจรักษาอัจฉริยะ ระบบบริการอัจฉริยะ ระบบสนับสนุนการตรวจรักษาอัจฉริยะ ระบบการบริหารจัดการอัจฉริยะ การแพทย์ทางไกล ระบบบริหารจัดการข้อมูลวิชาการและข้อมูลผู้ป่วย การใช้หุ่นยนต์แทนมนุษย์ในระบบบริการทางการแพทย์
ภาคสุขภาพ AI เป็นหนึ่งในภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบจาก AI อย่างชัดเจน ช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้แม่นยำยิ่งขึ้นและรวดเร็วขึ้น ช่วยให้บริการต่างๆมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น นอกจากนี้ AI ยังช่วยในการวิจัยพัฒนา  AI ถูกนำมาใช้ในการพัฒนายาใหม่ ๆ พัฒนาการตรวจหาเชื้อโรคและสัญญาณเริ่มต้นของโรค สามารถรักษาโรคที่ซับซ้อนหรือโรคที่ร้ายแรงได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม การพึ่งพาเทคโนโลยีมากเกินไปก็อาจนำมาซึ่งปัญหาได้ เช่นเดียวกัน ดังนั้น การใช้ AI ในภาคสุขภาพจึงต้องอาศัยความรอบคอบและการควบคุมดูแลอย่างเหมาะสม

การพัฒนาเทคโนโลยี AI มาพร้อมกับความท้าทายหลายประการ เช่น ปัญหาทางด้านจริยธรรม ความเป็นส่วนตัว และความปลอดภัยต่อระบบข้อมูล ต่อผู้ป่วยและความปลอดภัยต่อความคลาดเคลื่อนจากเทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ การพัฒนา AI ยังต้องการพลังงานจำนวนมาก ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลการทางการแพทย์กับผู้ป่วยเมื่อหุ่นยนต์มาแทนที่มนุษย์มากขึ้น ปัญหาข้อโต้แย้งทางการแพทย์ นำสู่การฟ้องร้องดำเนินคดีเพิ่มขึ้น

ในอนาคต AI จะมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงโลกของเรา การเตรียมตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งในระดับบุคคล องค์กร และระดับประเทศ เราต้องเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับเทคโนโลยี AI และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้เพื่อสร้างสรรค์สังคมที่ดีขึ้น วิทยาศาสตร์กับสังคมศาสตร์ยังจะเดินเคียงคู่สู่อนาคตร่วมกันต่อไป

 

โดย ดร.นพ.ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย