เสวนาออนไลน์ “เป็นหมอสูติ อยู่ให้ปลอดภัย ไม่โดนฟ้อง” โดย ศ.คลินิก นพ. ดิฐกานต์ บริบูรณ์หิรัญสาร ดร.นพ.ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย และ นายชาย นิ่มละมัย

สรุปสาระสำคัญที่ได้จากการเสวนาออนไลน์ “เป็นหมอสูติ อยู่ให้ปลอดภัย ไม่โดนฟ้อง” โดย ศ.คลินิก นพ. ดิฐกานต์ บริบูรณ์หิรัญสาร ดร.นพ.ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย และ นายชาย นิ่มละมัย เมื่อวันเสาร์ที่ 21 กันยา 2567 เวลา 20:00 – 21:00 น. ผ่าน  ZOOM

  1. หมอสูติ มีความเสี่ยงที่จะถูกฟ้องร้องมากที่สุด เพราะผู้มาคลอดแข็งแรงปกติดีมีความคาดหวังสูงกลับไปต้องมีตั้งแต่สองคนขึ้นไป แม้จะทำตามมาตรฐานวิชาชีพแล้วก็มีความเสี่ยงเพราะมีการเปลี่ยนแปลงของอาการตลอดเวลาบางครั้งคาดการณ์ลำบาก
  2. การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วย ช่วงฝากครรภ์จะช่วยลดปัญหาได้
  3. การแจ้งผลการตรวจโดยเฉพาะU/S ห้ามบอกว่าปกติ 100% เพราะจะเกิดความคาดหวังสูง
  4. การสื่อสารกับผู้ป่วยและญาติมีความสำคัญควรแจ้งสภาวะการเปลี่ยนแปลง ของ ผู้ป่วย เป็นระยะ รวมทั้งความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นและให้ทราบแผนการรักษาของแพทย์ ให้การดูแลผู้ป่วย ตามมาตรฐานและแบบเดียวกับญาติพี่น้องของเราเอง อาจเปิดโอกาสให้ญาติเข้าเฝ้าและอยู่ในเหตุการณ์
  5. หากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินผิดความคาดหมาย ควรตั้งสติให้ดีทบทวนหาสาเหตุแก้ไขและป้องกัน ควรสื่อสารให้ ญาติทราบ อธิบายให้เข้าใจและแจ้งแผนการรักษาของแพทย์ การกล่าวคำขอโทษจะช่วยลดแรงกดดันจากผู้ป่วยและญาติไม่ถือว่าเป็นการยอมรับผิดแต่ถือว่าเป็นการแสดงความเสียใจต่อการสูญเสีย ต้องอธิบายให้ทราบว่าแพทย์ได้ใช้ความพยายามช่วยเหลือเต็มที่แล้ว เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยหรือญาติได้ถามในประเด็นที่สงสัย
  6. การทำประกันวิชาชีพมีความจำเป็นโดยเฉพาะภาคเอกชนส่วนภาครัฐมีพ.ร.บ. รับผิดทางละเมิดช่วยเหลือทางแพ่งอยู่ เดิมบริษัทประกันจะ จ่ายเงินเมื่อแพทย์แพ้คดีแต่ปัจจุบันจะมีวงเงินที่ช่วยจ่ายในขั้นตอนของการไกลเกลี่ย ช่วยลดการฟ้องร้องได้มาก ถ้าเราผิดพลาด ก็ควรไกล่เกลี่ย หากไม่ผิดแต่ต้องระบุประเด็นที่จะมีความเสี่ยงอาจถูกฟ้องและแพ้คดีได้ก็ควรต้องเจรจากับบริษัทประกันเพื่อให้พิจารณาจ่ายช่วยเหลือ ขั้นไกล่เกลี่ย
  7. เมื่อมีการฟ้องผู้ป่วยเขาก็คาดหวังเงิน ชดเชย ค่าเสียหาย การช่วยเหลือชดเชยเบื้องต้น ไม่ถือว่าเป็นการรับผิดแต่กลับช่วยลดแรงกดดันและจะลดการฟ้องร้องได้
    การฟ้องคดีผู้บริโภคอายุความอาจจะยืดได้ถึง 10 ปีหรือขึ้นอยู่กับความเสียหายที่ส่งผลระยะยาวส่วนการฟ้องคดีอาญาส่วนใหญ่เพื่อที่จะยืดอายุความคดีแพ่งหากชนะคดีอาญาสามารถที่จะเรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่งได้
  8. เวชระเบียน ปกติเป็นเครื่องมือในการสื่อสารระหว่างบุคลากรทางการแพทย์ในความต่อเนื่องของการตรวจรักษา ไม่ใช่มีวัตถุประสงค์เขียนเพื่อเป็นหลักฐานทางคดีตั้งแต่แรก จึงไม่ได้บันทึกทุกสิ่งทุกอย่างไว้ในเวชระเบียน โดยเฉพาะไม่ค่อยได้เขียนแผนการรักษาที่อยู่ในใจไว้ แต่หากมีข้อโต้แย้ง เราต้องทำให้เวชระเบียนให้สมบูรณ์ ให้มีสิ่งที่เราทำ เราวางแผนไว้แต่ไม่ได้เขียนไว้ แต่ไม่ใช่การแก้ไขจากผิดเป็นถูก เวชระเบียน ไม่ถือเป็นพยานหลักฐาน แต่เป็นเอกสารที่ช่วยให้เข้าใจข้อเท็จจริง ในรายที่มีความเสี่ยงควรทบทวนและเขียนเพิ่ม ในภายหลัง ให้สมบูรณ์ ครบถ้วน ได้ แต่ไม่ควรแก้ไข กรณีที่ผู้ป่วย ขอเวชระเบียนควรตรวจสอบดูความสมบูรณ์ก่อน ให้ไปเท่าที่จำเป็น
  9. ในการต่อสู้คดี เราสามารถแจ้งให้ศาลขอพยานผู้เชี่ยวชาญจากแพทยสภาได้ จะเป็นกลางและมีความน่าเชื่อถือ หาก ไม่มี ก็จัดหา แพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ ที่เรารู้จักแต่ไม่ควรทำงานที่เดียวกันหรืออยู่ในสถาบันเดียวกัน

ดร.นพ.ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย ยินดีให้คำแนะนำตั้งแต่ที่เริ่มมีปัญหาเรื่องความเสี่ยงที่อาจถูกฟ้องร้อง หรือปัญหาเรื่องการเจรจาไกล่เกลี่ย ไม่ต้องรอให้โดนฟ้อง